มาตรฐานการรักษาความปลอดภัย
มาตรการและวิธีการให้การรักษาความปลอดภัย
1.  มาตรการและวิธีการให้การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่
เพื่อวางมาตรฐานและแนวทางในการรักษาความปลอดภัย  เกี่ยวกับสถานที่  ที่ถูกต้องมีหลักเกณฑ์ดังนี้
  • การจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยกับสถานที่
  • การจัดเขตรั้ว  และช่องทางเข้า – ออก  อย่างรัดกุม
  • การใช้เครื่องกีดขวางปิดกั้นในทางเข้า – ออก  การกำหนดแสงสว่างให้เพียงพอ
  • การกำหนดเขตหวงห้ามเฉพาะ
  • การกำหนดเส้นทาง  จุดการจราจรภายใน  หรือบริเวณลานจอดรถ
  • การควบคุมการเข้า – ออก  ของเจ้าหน้าที่ภายใน
  • การกำหนดมาตรการป้องกันอัคคีภัย
  • การจัดระบบการติดต่อสื่อสารภายใน  และการแจ้งสัญญาณเตือนภัย
2. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จัดขึ้นเพื่อความมุ่งหมายให้มีการรักษาความปลอดภัยต่อทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดก็ตาม หากไม่มีการเฝ้ารักษาดูแลจะทำให้มีผู้เล็ดลอดเข้ามาในบริเวณของบริษัทฯ ได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย คือเจ้าหน้าที่ที่มีความรับผิดชอบให้การดูแลและรักษาความปลอดภัยต่อทรัพย์สิน

คุณสมบัติเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 
  • มีความซื่อสัตย์  สุจริต
  • มีความรู้  ความสามารถ  เกี่ยวกับงานด้านรักษาความปลอดภัย  เป็นอย่างดี
  • มีเทคนิค  ปฏิภาณ  ไหวพริบ
  • มีสุขภาพที่แข็งแรง  มีบุคลิกที่สง่า  องอาจ  และผึ่งผาย
  • มีระเบียบ  มีวินัย
  • มีกริยา  มารยาท  การพูดจาสุภาพอ่อนโยน
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 
  • ควบคุมดูแลรักษาทรัพย์สิน
  • ควบคุมดูแลการจราจร
  • ควบคุมดูแลบุคคลเข้า – ออก
  • ควบคุมดูแลและป้องกันอัคคีภัย
  • ควบคุมดูแลเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  • ปฏิบัติตามกฎระเบียบของผู้ว่าจ้างทุกประการ
3.  การกำหนดจุดและจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
การพิจารณาจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ  เช่น
  • จุดอ่อนของบริเวณอาคารสถานที่  และขนาดของบริเวณอาคารสถานที่
  • ลักษณะของธุรกิจและทรัพย์สินที่จะต้องดูแล
  • บริเวณสภาพแวดล้อมภายนอก  และภายในรอบโรงงาน
  • จำนวนช่องทางเข้า – ออก
  • ความจำเป็นของผู้ว่าจ้างที่กำหนดให้
4. มาตรการและวิธีการควบคุมยานพาหนะและบุคคล
การควบคุมยานพาหนะและบุคคลจะต้องมีหลักการดังนี้
  • เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องเข้มงวดกวดขันกับยานพาหนะที่จะผ่านเข้า – ออกจากบริเวณบริษัทฯ  โดยการตรวจเช็คอย่างละเอียด
  • เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องทราบเกี่ยวกับยานพาหนะที่อนุญาตให้ผ่านเข้า – ออก โดยตลอดหรือจากบุคคลภายนอกให้ใช้เส้นทางเข้าตรงไปยังสถานที่จอดรถลูกค้าเท่านั้น
  • เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานต่อการเข้า – ออก  ของยานพาหนะตามหัวข้อต่อไปนี้
ยานพาหนะออก
  1. วันและเวลาที่ผ่านเข้า -  ออก
  2. ชื่อคนขับที่บริษัทฯ กำหนดให้ตรงกับเลขทะเบียนยานพาหนะและชื่อผู้โดยสาร (ถ้ามี)
  3. เลขทะเบียนยานพาหนะ                 
  4. หลักฐาน/เอกสารการนำออก
ยานพาหนะเข้า
  1. วัตถุประสงค์ในการผ่านเข้า
  2. ต้องการเข้าพบเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ  ชื่อและแผนก
  3. ยึดเอกสารไว้เป็นหลักฐาน  เช่น  ใบขับขี่,  บัตรประชาชน
  4. บันทึกทะเบียนยานพาหนะ
5.  การติดต่อสื่อสาร
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย  สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีโทรศัพท์ไว้เพื่อทำการติดต่อทั้งภายในและ       ภายนอกเพื่อสะดวกและรวดเร็ว  ถ้ามีเหตุการณ์ได้เกิดขึ้น
 
6.  มาตรการและวิธีการควบคุมบุคคล
บุคคลสามารถแยกได้เป็น  2  ประเภท  ดังนี้
 
ก.  การควบคุมบุคคลภายใน พนักงานของบริษัทฯ  จะต้องติดบัตรของบริษัทฯ  เพื่อความสะดวกต่อการควบคุมซึ่งทางบริษัทฯ จะต้องร่วมมือกันกับบริษัทฯ  รักษาความปลอดภัยให้พนักงานทุกคนติดบัตรที่หน้าอกเพื่อมิให้มีการตรวจค้นหรือสอบถามกันตลอดเวลา   ซึ่งบริษัทฯ  สามารถแยกสีของบัตรตามความเหมาะสมหรือจะใช้ สีเดียวกันตลอดก็ได้ในกรณีบริษัทฯ ปลดพนักงานออกในกรณีร้ายแรง ซึ่งบริษัทฯ  ไม่ต้องการให้บุคคลเหล่านั้น เข้ามาในบริษัทฯ คือ  เราสามารถทำได้โดยการที่บริษัทฯ   ส่งรูปและรายละเอียดให้แผนกรักษาความปลอดภัยไว้เป็นหลักฐาน  ในกรณีที่มีการโยกย้ายหรือปลดออก แผนกบุคคลจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทราบ เพื่อป้องกันการเข้าออกของบุคคลนั้นในกรณีบัตรหายหรือลืมบัตร ก่อนจะเข้าบริษัทฯ จะต้องให้หัวหน้าแผนก หรือระดับผู้บริหารของบริษัทฯรับรองเสียก่อนถึงจะเข้าได้ มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิเข้าบริเวณบริษัทฯ เด็ดขาด
 
ข.  การควบคุมบุคคลภายนอก   บุคคลภายนอก  ก่อนที่จะได้รับอนุญาตเข้าในบริษัทฯ/โรงงาน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องสอบถามถึงความประสงค์  และให้ผู้มาติดต่อแสดงบัตรเท่าที่บริษัทฯ  เห็นว่าสมควร  เช่น  บัตรประจำตัวประชาชน  ใบขับขี่  เป็นต้น  ก่อนที่จะอนุญาตและหรือ จะต้องมีแบบฟอร์มในการผ่านเข้า – ออก  และส่งคืนเมื่อออกนอกบริเวณบริษัทฯ/โรงงาน
    
ข้อเสนอแนะ
บริษัทฯ ควรจะจัดสถานที่พิเศษโดยไม่รวมกับเจ้าหน้าที่  ที่ทำงานของบริษัทฯ  เพื่อความสะดวกต่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะควบคุมดูแลรับผิดชอบ  ไม่ให้เดินไปตามสถานที่ต่าง ๆ  ที่บริษัทฯ  เห็นว่าเป็นเขตหวงห้ามหรือบริเวณที่สำคัญ
    
หมายเหตุ
บุคคลดังกล่าวทั้ง  2  ประเภทนี้    สมควรที่จะออกบัตร
1.  พนักงานของบริษัทฯ  ออกบัตรประจำตัวพนักงาน ให้พนักงานเหล่านั้นติดไว้เพื่อสะดวกต่อ การติดต่อและควบคุมการเข้า - ออก
2.  บุคคลภายนอก  สมควรที่จะออกบัตรผ่านเข้า – ออก  ให้ผู้มาติดต่อไว้เพื่อให้ง่ายต่อการสังเกตการทำบัตรประจำตัวพนักงาน    หรือบัตรชั่วคราวให้ผู้มาติดต่อนี้     จะเป็นการบันทึกผู้เข้า – ออก  มาติดต่อได้เป็นอย่างดี
7.  พื้นที่ที่มีการรักษาความปลอดภัย
พื้นที่ที่มีการรักษาความปลอดภัย  คือ  พื้นที่ที่มีการกำหนดขอบเขตโดยแน่ชัด  โดยมีข้อจำกัดและควบคุมการเข้า – ออก  เป็นพิเศษ  วัตถุประสงค์ในการพิทักษ์รักษาทรัพย์สิน  จะต้องมีมาตรการที่แน่ชัด  โดยแบ่งแยกแตกต่างกันออกไป
  • จะต้องกำหนดพื้นที่ควบคุมเป็นที่ที่เป็นของบริษัทผู้ว่าจ้าง  ที่มีทรัพย์สินอยู่โดยรอบเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย  จะต้องช่วยกลั่นกรองยานพาหนะขั้นหนึ่งก่อน  ก่อนที่จะถึง “พื้นที่เขตหวงห้าม”
  • กำหนดให้มี  “พื้นที่หวงห้าม”  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการพิทักษ์รักษาสิ่งที่เป็นความลับตลอดจนบุคคลสำคัญพื้นที่หวงห้ามนี้อาจแยกเป็น  “เขตหวงห้ามเฉพาะ”  กับ “เขตหวงห้ามเด็ดขาด”
 
8.  การป้องกันอัคคีภัย
อัคคีภัย เป็นสิ่งหนึ่งที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะต้องรู้จักวิธีใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการดับเพลิง 
ดังนั้นบริษัทฯ จึงคำนึงเสมอให้มีการฝึกอบรมด้านอัคคีภัยความรู้เบื้องต้นเสมอ
  • ระบบสัญญาณ
  • การปฏิบัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้
  • ตำแหน่งของอุปกรณ์ดับเพลิง
  • การติดต่อและแผนผังอาคารและบริเวณที่สำคัญโดยรอบ
  • จัดทำแผนกขนย้ายเอกสารสำคัญ  ตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง
  • กำหนดบริเวณพิทักษ์ทรัพย์สินเป็นเขตปลอดภัย
  • หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้อง
  • การหนีไฟ
9. อัตราความรับผิดชอบ
บริษัทฯ ได้ให้ความรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย  กรณีทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างซึ่งอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่  ร.ป.ภ.  ไม่เกิน  20,000-300,000  บาท  ( ตามข้อตกลงและเงื่อนไขในภายหลัง )

ด้านกฎหมาย :
ทนายที่ปรึกษา คือ นายสมชาย  ขำมณี (สำนักงาน ช.เนติธรรม นครราชสีมา)
เป็นที่ปรึกษาและดูแลงานด้นกฎหมายให้กับ บริษัท รักษาความปลอดภัย กฤษดา จำกัด

ข้อมูลอ้างอิง
            บริษัทฯ ประกันความสูญหายและเสียหายได้รับ
            บริษัท พุทธธรรมประกันภัย จำกัด
            เลขที่ 9/81  ถนนรัชดาภิเษก  แขวงลาดยาว  เขตจตุจักร  กรุงเทพมหานคร
            โทร.02-585-9009

 

10. อัตราค่าบริการและเงื่อนไขการจ่ายค่าบริการรักษาความปลอดภัย
บริษัทฯ  เสนออัตราค่าบริการ  และเงื่อนไขการจ่ายค่าบริการรักษาความปลอดภัยให้ท่านพิจารณาดังต่อไปนี้

อัตราค่าบริการ
1.  ค่าบริการ
             พนักงานรักษาความปลอดภัยคนละ             ............  บาท/เดือน  (ทำงาน  12  ชม./วัน)
             ซุปเปอร์ไวส์เซอร์  (หัวหน้าหน่วย )  คนละ      ............  บาท/เดือน  (ทำงาน  12  ชม./วัน)
         
2.  เงื่อนไขการจ่ายค่าบริการ
              บริษัทฯส่งใบแจ้งหนี้ภายในวันที่  5  ของเดือน 
              เก็บค่าบริการไม่เกินวันที่  15  ของเดือนถัดไป      
            
3. การจ้างเพิ่มพิเศษ ( เฉพาะกิจ )
               พนักงานรักษาความปลอดภัย                             ............  บาท / คน /วัน

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้